Our news
-
การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัย เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะ A STUDY ON THE CULTURAL LANDSCAPE OF WAT PHRA THAT HARIPHUNCHAI COMMUNITY TO DESIGN PUBLIC FACILITY
สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์: 54810098: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ปร.ด. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, D.A.A., คุ้มพงศ์ หนูบรรจง, Ph.D. 276 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัยโดยอาศัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบคือ ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชุมชน สภาพสังคมและวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม และนโยบายการพัฒนาเมืองลำพูน (2) ออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะซึ่งประกอบไปด้วย ป้ายถนนและเฟอร์นิเจอร์สาธารณะสำหรับ 4 ชุมชน ซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของชุมชนที่แตกต่างกันตามบริบท (3) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนบริเวณชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัยที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะที่แสดงอัตลักษณ์ของชุมชนอันเป็นผลที่เกิดจากกรอบการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภุญชัย จำนวน 662 คน ซึ่งประกอบด้วย 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านท่า-ท่านาง จำนวน 154 คน ชุมชนศรีบุญเรือง จำนวน 108 คน ชุมชนชัยมงคล จำนวน 168 คน ชุมชนท่าขาม-บ้านฮ่อม จำนวน232…
-
การออกแบบลวดลายเครื่องแต่งกายสตรีมุสลิมสำหรับงานวาลีมะ โดยการประยุกต์รูปแบบลวดลายอิสลามกับลวดลายไทยA GRAPHIC DESIGN PROJECT INSPIRED BY TRADITIONAL ISLAMIC PATTERN AND THAI PAINTING TO DECORATE ON MUSLIM WOMENSWEAR
สกุนนี โซ๊ะมณี: 53920204: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศม., บุญชู บุญลิขิตศิริ, ค.ด. 86 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ปรากฏให้เห็นในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมอย่างเด่นชัด จะเห็นได้จากภาษาที่ใช้สื่อสาร ตลอดจนวัฒนธรรมการแต่งกาย โดยเฉพาะสตรีมุสลิมของประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยเครื่องแต่งกายสตรีมุสลิมนั้นได้รับการผสมผสานทางวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยและอิสลาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตลอดจนลวดลายเครื่องแต่งกายที่ได้รับการสร้างสรรค์ด้วยฝีมือที่ประณีต ประดิดประดอยสตรีมุสลิมให้ความสำคัญกับการแต่งกายที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามคือการแต่งกายอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามในทุกวาระโอกาส มักแต่งกายอย่างเฉิดฉาย งามสง่า โดยการเน้นความโดดเด่นทั้งการแต่งกาย และลวดลายที่ปรากฏบนเสื้อผ้าอาภรณ์มีส่วนช่วยส่งเสริมเครื่องแต่งกายให้สวยงามเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ นักออกแบบลวดลายเครื่องแต่งกายสตรีมุสลิมสำหรับงานวาลีมะจึงออกแบบลวดลายบนชุดให้เกิดความหลากหลายอย่างร่วมสมัย นอกจากจากการแต่งกายของสตรีมุสลิมจำเป็นต้องถูกตามหลักศาสนาอิสลามแล้วหลักศาสนามีข้อจำกัดในการออกแบบลวดลาย คือ ห้ามปักรูปเหมือนของคน หรือสัญลักษณ์ของศาสนาอื่น ทำให้การออกแบบลวดลายบนเครื่องแต่งกายสตรีมุสลิมจำเป็นต้องนำสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ มาดัดแปลงเป็นลวดลาย ซึ่งในส่วนรูปร่าง ลักษณะ และสี ทางศาสนาไม่ได้มีข้อห้ามอื่นใด เว้นแต่ควรเลือกให้เหมาะสมเท่านั้น Abstract The cultural diversity in…
-
การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์สู่อาเซียนCORPORATE IDENTITY DESIGN FOR LANGUAGE CENTER OF RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY FOR ASEAN
รัตนวรรณ คิม: 52920597: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์: ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม., เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศม. 129 หน้า. ปี พ.ศ. 2557 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ข้อมูลอาเซียน ข้อมูลท้องถิ่น และข้อมูลการออกแบบเรขศิลป์ เพื่อนำมาหาข้อสรุปและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบงานเรขศิลป์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์สู่อาเซียน เพื่อให้องค์กรมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในระดับสากลและสามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้ จากผลสรุปของแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่า ตราสัญลักษณ์ที่มีการนำเอาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาผสมผสานกับรูปแบบที่มีความทันสมัยนั้น ทำให้มีความโดดเด่น และมีเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการออกแบบตราสัญลักษณ์ที่ดี โดยอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่นำมาใช้คือวัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่นิยมใช้ในการประดับตกแต่งวัดและเส้นโค้งของศาสนสถาน มาเป็นแรงบันดาลใจโดยปรับรูปแบบให้มีความเรียบง่ายและทันสมัยมากยิ่งขึ้นด้วยการตัดทอน และเพื่อให้งานออกแบบเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยซึ่งเป็นการออกแบบเพื่ออาเซียน จึงได้นำเอาสีของธงอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วย สีฟ้า สีแดง สีเหลือง และสีขาว มาใช้เป็นสีหลักในงานออกแบบ แล้วจึงนำมาใช้ในงานออกแบบเรขศิลป์ประเภทต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ อุปกรณ์สำนักงาน ของที่ระลึก ซึ่งการออกแบบนั้นได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงาน และ ได้มีการประเมินผลความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถาม 2 กลุ่มคือ…
-
ประติมากรรมชุดความรักแม่และลูกSCULPTURE OF LOVE BETWEEN MOTHER AND CHILD
ปานรัตน์ สุขเกษม: 51929997: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศม., ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม. 59 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า และสร้างสรรค์งานประติมากรรมสะท้อนสังคมในเชิงสร้างสรรค์ เนื้อหาเกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูกโดยการนำความทรงจำของจินตนาการภาพเมื่อวัยเยาว์ของผู้ดำเนินงานวิจัยที่รู้สึกประทับใจต่อความรักระหว่างแม่และผู้ดำเนินงานวิจัย เป็นช่วงเวลาที่เมื่อผู้ดำเนินงานวิจัยระลึกถึงแล้วเกิดความสุข ความอบอุ่น และความอิ่มเอมภายในใจ รูปแบการถ่ายทอดผลงานเป็นลักษณะการแสดงความรักระหว่างแม่และลูกในช่วงอายุ 5 เดือนถึง 3 ปี ด้วยท่าทางการกอด โอบ อุ้ม ประติมากรรมสร้างสรรค์ชุดความรักแม่และลูกเป็นประติมากรรมแบบร่วมสมัย โดยรูปแบบของรูปทรงมีลักษณะรูปทรงตามความเป็นจริงในธรรมชาติ และนำมาปรับเปลี่ยนคลี่คลายให้เป็นลักษณะที่เรียบง่าย (Simplicity) อิริยาบถของการแสดงออกของผลงานเป็นลักษณะของการแสดงออกในเชิงของความรักที่แม่มีให้กับลูกตามแบบอุดมคติของผู้ดำเนินงานวิจัยผลงานทั้งหมดมี 5 ชิ้น ชิ้นที่ 1 ผลงานชื่อ “ดวงใจแม่” ชิ้นที่ 2 ผลงานชื่อ “แม่จ๋า” ชิ้นที่…
-
ศึกษาการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับมหาวิทยาลัยบูรพาA STUDY OF CORPORATE IDENTITY DESIGN FOR BURAPHA UNIVERSITY
ณิชกานต์ ไชยจักร์: 54920581: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, ศ.ป.ด., นพคุณ นิศามณี, M.A. 221 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยบูรพา และออกแบบผลงานสร้างสรรค์ที่สะท้อนตัวตนของมหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับการศึกษาและการออกแบบผู้วิจัยได้กำหนดการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ (1) ศึกษาอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาพบว่า อารมณ์บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยบูรพา คือ แบบเป็นทางการ ซึ่งมีภาพลักษณ์แบบเชี่ยวชาญ น่าเชื่อถือ เลิศล้ำ จริงจัง สีที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยบูรพา คือโมเดิร์น ประกอบด้วยสีน้ำเงิน-เขียว ในโทนสีอมเทา รูปร่างรูปทรงที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยบูรพา คือรูปร่างเรขาคณิต ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยบูรพา คือ Gothic Typefaces (Sans Serif) เป็นแบบสะอาด เรียบง่าย ไม่มีส่วนของ เซอริฟหรือเส้นยื่นเป็นส่วนประกอบ ตัวอักษรภาษาไทยที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยบูรพา คือ ตัวอักษรแบบหัวกลมโปร่งอย่างไทยแท้ ได้แก่ Browallia UPC…
-
การออกแบบเครื่องตามประทีปที่ใช้ในงานสปา: แนวความคิดจากศิลปะสุโขทัยLAMPS USED IN THE SPA THE CONCEPT OF SUKHOTHAI ART
นภาพิชญ์ ทิพย์มณี: สาขาวิชา: ทัศน์ศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศน์ศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม. เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศ.ม. 75 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องตามประทีปที่ใช้ในงานสปา โดยได้รับแนวความคิดจากศิลปะสุโขทัย ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบโดยใช้รูปทรงจากการคลี่คลายมาจากรูปทรงทางสถาปัตยกรรมและเครื่องปั้นดินเผาโดยให้มีความเรียบง่ายแบบเรขาคณิต และใช้เคลือบสีเขียว ตามแบบครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย ใช้เทคนิคการเขียนสีใต้เคลือบผสมผสานกับลายพันธุ์พฤกษา ประเภทดอกและใบ และลายเถาก้านขด เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย ผลงานมีทั้งหมด 2 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ 5 รูปแบบ ประกอบด้วยตะเกียงน้ำมันหอมระเหย ตะเกียงเทียนหอมตะเกียงน้ำมันพืช ตะเกียงเผากำยาน และโคมไฟ โดยกำหนดใช้วัตถุดิบเนื้อดินพอร์ซเลนสำเร็จรูปสูตรVCB จากบริษัทคอมพาวเคลย์ ขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อ และขึ้นรูปด้วยมือ ตกแต่งพื้นผิวด้วยการเจาะฉลุเขียนลายใต้เคลือบและ เคลือบผิวโดยใช้น้ำเคลือบใส จากบริษัทคอมพาวเคลย์ ผสม Copper oxide 1.5 % บรรยากาศการเผาแบบออกซิเดชั่น อุณหภูมิ 1,200–1,230…
-
การสร้างสรรค์ศิลปะการจัดวางจากวรรณกรรมเรื่อง ข้างหลังภาพ ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย (CREATION OF INSATALLATION ART FOR CHUICHAI OF KEERATI: THE LAST BEAUTY OF KHUM YING KEERATI.)
“คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากวรรณกรรมเรื่องข้างหลังภาพ โดยศรีบูรพา เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทย ภาษา วรรณกรรม ศิลปะกาจัดวางด้วยวิธีการตัดเย็บ และวีดีโออาร์ต ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในรูปแบบการสร้างสรรค์และการตัดเย็บเสื้อผ้า งานศิลปะการจัดวางที่มีการใช้เทคนิควีดีโออาร์ตในการเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว . “ คณพศ วิรัตนชัย: การสร้างสรรค์ศิลปะการจัดวางจากวรรณกรรมเรื่อง ข้างหลังภาพ ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย (CREATION OF INSATALLATION ART FOR CHUICHAI OF KEERATI: THE LAST BEAUTY OF KHUM YING KEERATI.) สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศ.ม., ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม. 114 หน้า. ปี พ.ศ. 2557 บทคัดย่อ ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากวรรณกรรมเรื่องข้างหลังภาพ โดยศรีบูรพา เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทย…
-
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต: ศิลปะจัดวาง (RELATIONSHIP BETWEEN BODY AND MIND: INSTALLATION ART)
“การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต: ศิลปะจัดวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองวิธีสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวางด้วยเทคนิค สื่อประสม 3 มิติ เพื่อแสดงออกถึงความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตที่มีต่อการดำเนินชีวิต สภาวะในการแสดงออกของการรวม . “ อัญชลี พรหมสวัสดิ์: 55920397: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศม., ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม. 78 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต: ศิลปะจัดวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองวิธีสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวางด้วยเทคนิค สื่อประสม 3 มิติ เพื่อแสดงออกถึงความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตที่มีต่อการดำเนินชีวิต สภาวะในการแสดงออกของการรวม เป็นหนึ่ง เมื่อกายจิตสัมพันธ์กัน ชีวิตจะดำเนินไปอย่างมีความสุข จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลมาสู่งานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวาง จำนวน 4 ชิ้น คือ ผลงานชิ้นที่ 1 แสงแห่งความสมดุลในจิตใจ ผลงานชุดนี้สะท้อนถึงสภาวะสมดุล เมื่อกายเป็นอย่างไรจิตจะแสดงออกมาอย่างนั้น ผลงานชิ้นที่ 2 ภาวะหลุดพ้น สะท้อนถึงเมื่อเกิดความทุกข์…
-
ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทย
“งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) สืบค้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นหนังใหญ่ของไทย. “ ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทย (Nang Yai or Thai Shadow Play) รศ.ดร.ประเทิน มหาขันธ์ บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) สืบค้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นหนังใหญ่ของไทย ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์ และมิใช่ลายลักษณ์ 2) ตรวจสอบวิพากษ์ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน 3) เพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการเล่นหนังใหญ่ ทั้งในด้านนาฏศิลป์ คีตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ วิจิตรศิลป์ และหัตถศิลป์ เข้าไว้ด้วยกัน อย่างมีความประสมประสาน กลมกลืน ผลการวิจัยพบว่า การเล่นหนังใหญ่ของไทยมีมาตั้งแต่ครั้งอาณาจักรสุโขทัย โดยได้รับแบบอย่างการเล่นมาจากอินเดีย (ชมพูทวีป) โดยตรง หรือรับผ่านเขมรมาพร้อมกับการค้าและการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพราหมณ์ และฮินดู หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการละเล่นที่คนไทยประดิษฐ์ขึ้นเอง ยังมิอาจหาข้อยุติได้ กระบวนการเล่นหนังใหญ่ของไทย เริ่มต้นด้วยการสร้างตัวหนังจากหนังโค หนังกระบือที่ผ่านกระบวนการฟอกและตากแห้งแล้ว…
-
ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี
“การวิจัยเรื่อง ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี . “ ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี THE INTEGRATION OF THEORY WITH CONCEPT AND METHODS: A COMPLETE VISUAL VIEW OF MURAL PAINTING IN THE ORDINATION HALL, YAI INTHARAM BUDDHIST TEMPLE, CHON BURI PROVINCE ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำเสนอมุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนัง ที่อยู่ในระดับสายตา และปราศจากสิ่งแวดล้อมบดบังภายในพระอุโบสถ (2) ให้บุคคลทั่วไปสามารถรับรู้เนื้อหาเรื่องราว …