Our news

  • ร่วมเป็นเจ้าภาพการบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    “รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยผู้บริหารคณะฯ คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนิสิต ในวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร . “ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมเป็นเจ้าภาพการบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์  ทองนพคุณ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยผู้บริหารคณะฯ คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนิสิต   ในวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๐  ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  พระบรมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร วันที่เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2560

    READ MORE

  • พิธีไหว้ครูศิลปะ ประจำปีการศึกษา 2560

    “พิธีไหว้ครูศิลปะ ประจำปีการศึกษา 2560 . “ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมจัดพิธีไหว้ครูศิลปะ ประจำปีการศึกษา 2560  เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 ณ หอศิลปนิทรรศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีพิธีทำบุญภวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ โดยมีการประกอบพิธีไหว้ครูสามัญในเวลา 09.00 น. และนิสิตร่วมพิธีไหว้ครูศิลปะในเวลา 11.00 น. โดยพร้อมเพรียงกัน วันที่เผยแพร่: 24 ส.ค. 2560

    READ MORE

  • งานศิลปกรรมบูรพา “Existence &Change” หอศิลป์แห่งชาติ พระนคร

    “งานศิลปกรรมบูรพา “Existence &Change” หอศิลป์แห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร 7-24 กันยายน 2560 . “         คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมจัดโครงการนิทรรศการศิลปกรรม ประจำปี พ.ศ. 2560  “Existence &Change”  โดยจัดแสดงผลงานของคณาจารย์ เพื่อเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานคณาจารย์ ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา   “Existence &Change” หรือ  “การคงอยู่และเปลี่ยนแปลง” ในบริบททางศิลปะ ยังมีความหมายถึง  กระบวนการทางศิลปะที่ไม่หยุดนิ่ง จากรูปแบบของแนวคิดที่สะท้อนสู่ผลงานเชิงปฏิบัติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน การคงอยู่ของผลงาน แนวคิดของศิลปะในอดีต เป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และถ่ายทอดทั้งความคิด เทคนิค มีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ กลายเป็นผลลัพธ์ในผลงานศิลปกรรมสร้างสรรค์ที่ต่อยอดได้ในปัจจุบัน     นิทรรศการ “Existence &Change”  ได้รับเกียรติจากนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการเปิดนิทรรศการ เมื่อวันที่  7 กันยายน  พ.ศ. 2560…

    READ MORE

  • การตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ปีการศึกษา 2559

    “การตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ปีการศึกษา 2559. “ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2560 โดยมี รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณาจารย์ร่วมให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ จันทนี เพชรานนท์ ประธานกรรมการ และคณะกรรมการประเมินฯ  โดยการตรวจประเมินครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากบุคลากร เจ้าหน้าที่  นิสิต ศิษย์เก่า เข้าร่วมให้ข้อมูล พร้อมทั้งรับฟังการสรุปผลและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารและการเรียนการสอนของคณะในปีต่อไป วันที่เผยแพร่: 19 ก.ย. 2560

    READ MORE

  • โครงการบริการวิชาการ “ศิลปะกับการเยียวยา : สหวิทยาการเพื่อการสร้างพื้นที่สุขภาวะ”

    ““พื้นที่สุนทรียรส : พื้นที่สุขภาวะ” วันที่ 17 – 18 สิงหาคม พ. ศ. 2560 วันที่ 18 สิงหาคม 2560 09. “ โครงการบริการวิชาการแก่สังคม  เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยบูรพา  ในการจัดกิจกรรม ฝึกอบรม ถ่ายทอด และให้บริการความรู้ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะบุคคลในมหาวิทยาลัย แต่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้สนใจทั่วไป และเครือข่ายผู้รู้ ปราชญ์ชุมชนได้มีพื้นที่ทางสังคมเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นเวทีในการจัดกิจกรรมวิชาการ และประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ พัฒนาแนวทางการใช้ศาสตร์และศิลป์  ในการจัดการงานศิลปะและการสร้างพื้นที่สุขภาวะ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับทุกภาคส่วนของสังคม  พื้นที่สุนทรียรส : พื้นที่สุขภาวะ  ประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่มุ่งเป้าไปสู่การขยายพื้นที่สุขภาวะของคนในชุมชน 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นแนวคิดการประยุกต์ศาสตร์หลายด้านโดยใช้งานศิลปะ  เป็นเครื่องนำทาง  ส่วนที่สอง ประกอบด้วยคนและเครือข่ายที่สนใจด้านสุขภาพ  เข้ามาร่วมเรียนรู้และพัฒนางานการสร้างพื้นที่สุขภาวะ  เพื่อนำไปสู่การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (Self-care) ส่วนที่สามเป็นการประสานเครือข่ายผู้รักสุขภาพ ผู้สนใจงานศิลปะกับธรรมชาติบำบัด  เป็นปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน  การสร้างพื้นที่สุนทรียรส : พื้นที่สุขภาวะ  จึงเป็นกระบวนการเชื่อมโยงงานศิลปะและศาสตร์ด้านต่างๆ ตั้งแต่งานทัศนศิลป์  การออกแบบ  การบริหารงานวัฒนธรรม อาหารและสุขภาพ …

    READ MORE

  • ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี

    “การวิจัยเรื่อง ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี. “ ชัยยศ  วนิชวัฒนานุวัติ ดุษฎีนิพนธ์นิสิตปริญญาเอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยบูรพา บทคัดย่อ      การวิจัยเรื่อง ทฤษฎีกับแนวความคิดและวิธีการ: มุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถ วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำเสนอมุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนัง ที่อยู่ในระดับสายตา และปราศจากสิ่งแวดล้อมบดบังภายในพระอุโบสถ  (2) ให้บุคคลทั่วไปสามารถรับรู้เนื้อหาเรื่องราว  รูปแบบทางทัศนศิลป์และเทคนิควิธีของจิตรกรรมฝาผนังจากมุมมอง      ภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนัง  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสร้างสรรค์เชิงปริมาณใช้วิธีการเก็บรวบรวม      ข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร  การสำรวจ การประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพ การถ่ายภาพและการผสมภาพ  นำเสนอภาพจิตรกรรมและเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน      ผลการวิจัยพบว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ได้จากการบันทึกภาพด้วยเทคนิควิธีการถ่ายภาพ ประกอบกับการประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพและเทคนิควิธีการผสมภาพ เป็นภาพที่มีมุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนัง  เป็นมุมมองภาพจิตรกรรมฝาผนังในระดับสายตาที่มีสัดส่วนและสีของภาพที่ถูกต้องตามสภาพในตำแหน่งปกติของจิตรกรรมฝาผนังและปราศจากสิ่งบดบังภายในพระอุโบสถ        การนำเสนอมุมมองภาพที่สมบูรณ์ของจิตรกรรมฝาผนัง พบว่า บุคคลทั่วไปสามารถรับรู้เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบทางทัศนศิลป์และเทคนิควิธี ดังนี้ การรับรู้ด้านเนื้อหาเรื่องราวอยู่ในระดับดี…

    READ MORE

  • เรือนร่างสตรีบนสื่อโฆษณาในสังคมบริโภคWOMEN’S BODY ON ADVERTISING MEDIA IN THE CONSUMER SOCIETY

    “เรือนร่างสตรีบนสื่อโฆษณาในสังคมบริโภคWOMEN’S BODY ON ADVERTISING MEDIA IN THE CONSUMER SOCIETY . “ ภานุ สรวยสุวรรณ ดุษฎีนิพนธ์นิสิตปริญญาเอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยบูรพา บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ภาพเรือนร่างสตรีที่ปรากฏบนสื่อโฆษณา โดยผู้วิจัยเลือกวิเคราะห์ภาพเรือนร่างในนิตยสารผู้หญิง ผู้วิจัยมีความเห็นว่าภาพเรือนร่างเหล่านี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนปรากฏการณ์สังคมบริโภคได้อย่างชัดเจน โดยภาพความหมายของเรือนร่างที่ได้จากการวิเคราะห์จะนำไปเป็นกรอบแนวความคิดในการสร้างสรรค์เป็นผลงานทางทัศนศิลป์ การดำเนินงานวิจัยนี้ได้แบ่งไว้เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยภาพเรือนร่างในกลุ่มนิตยสารสตรีซึ่งแยกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนิตยสารสตรีสำหรับคนมีรายได้สูงหรือคนในสังคมเมือง กลุ่มนิตยสารสตรีสำหรับวัยรุ่น และกลุ่มนิตยสารสตรีสำหรับแม่บ้านหรือคนมีรายได้น้อย การวิเคราะห์จะอยู่บนพื้นฐานของหลักการทางสังคมวิทยา ทฤษฎีสัญญะวิทยา และการวิเคราะห์ภาพทางทัศนศิลป์ ความหมายของภาพเรือนร่างสตรีที่ได้จากการวิเคราะห์จะเป็นเสมือนภาพตัวแทนทางวัฒนธรรม สังคม ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมทางสังคมที่ผู้วิจัยได้ค้นพบผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ในส่วนแรกจะนำไปบูรณาการสู่การดำเนินงานในส่วนที่สอง ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ วัตถุประสงค์ของการสร้างผลงานทางทัศนศิลป์นี้ ผู้วิจัยต้องการนำเสนอให้เห็นถึงภาพเรือนร่างของสตรี สามารถเป็นสื่อกลางของมายาคติ สัญญะ และรหัสความหมาย รวมถึงทัศนธาตุทางศิลปะ แสดงให้เห็นภาพลักษณ์เรือนร่างสตรีเป็นเสมือนการประกอบร่วมกันของความงาม รสนิยม และสถานะที่ใช้ในการสื่อสาร โน้มน้าวใจ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันในสังคมบริโภค Abstract This study is an…

    READ MORE

  • การออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลอง ตามทฤษฎีเครื่องล่อใจDESIGN OF SIMULATION THAI FOLK GAME UPON INCENTIVE THEORY

    ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอภาส: 54920584: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: บุญชู บุญลิขิตศิริ, ค.ด. 235 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลองตามทฤษฎีเครื่องล่อใจ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนาเขื่อน จำนวน 30 คน โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกที่เน้นประเด็นเรื่องการออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลอง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเกม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเกมที่ได้ออกแบบไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจและสังเกตพฤติกรรม ผู้วิจัยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงสู่ข้อสรุปของการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลองในระดับมากในทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้เล่นมีความพึงพอใจในด้านภาพและสีเป็นลำดับที่ 1 (x = 4.18) ลำดับที่ 2 คือ ด้านรูปแบบเกมและการควบคุม (x= 4.14) ลำดับที่3 คือ ด้านเนื้อหา…

    READ MORE

  • การออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์อีสานเพื่ออุตสาหกรรม เชิงวัฒนธรรมISAN GRAPHIC DESIGN CORPORATE IDENTITY FOR CULTURAL INDUSTRIES

    ธนวัฒน์ ฝอยจันทร์: 55920386: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, ศ.ป.ด., ศักดิ์ชาย สิกขา,ศ.ป.ด. 151 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์อีสานเพื่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์งานศิลปหัตถกรรมอีสาน สำหรับนำมาใช้ในการออกแบบ (2) เพื่อออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมอีสาน (3) เพื่อนำผลงานการออกแบบกราฟิกจากอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมอีสานมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ กรอบแนวคิดด้านการออกแบบ ยึดหลักการออกแบบกราฟิกตามทฤษฎีการออกแบบของ สมศิริ อรุโณทัย ได้แก่ หลักเอกภาพ หลักความสมดุล และหลักจุดสนใจ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขอบเขตด้านพื้นที่ คือ การศึกษาศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและ ขอบเขตด้านเนื้อหาคือ การศึกษาศิลปหัตถกรรมอีสาน สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงในการคัดเลือกศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมอีสานได้ตอบแบบสอบถาม เพื่อทำการคัดเลือกงานศิลปหัตถกรรมอีสานในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีที่มีความโดดเด่น ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ขันหมากอีสาน (เชี่ยนหมาก)…

    READ MORE

  • แนวคิดใหม่ในการสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ตามวรรณคดีไตรภูมิNEW IDEA ON THE CREATION OF TRIBHUMI HIMMAVANTA CREATURES

    สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์: 54810203: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ: ปร.ด. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) คณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์: สุชาติ เถาทอง, ศ.ม., ปรีชา เถาทอง, Ph.D. 265 หน้า. ปี พ.ศ. 2557. บทคัดย่อ การวิจัยแนวคิดใหม่ในการสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ตามวรรณคดีไตรภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโดยรวมของสัตว์ผสมข้ามสายพันธุ์ในอารยธรรมต่าง ๆ  และสัตว์หิมพานต์ตามวรรคดีไตรภูมิ รวมถึงงานศิลปกรรมที่มีแรงบันดาลใจจากสัตว์ผสมข้ามสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยได้ทำการสัมภาษณ์ศิลปินไทย ศิลปินเอเชีย ศิลปินพื้นบ้านและนักวิชาการศิลปะ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิดจากผู้ที่อยู่ในวงการศิลปะ รวมถึงทำการวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมของศิลปิน ที่มีแรงบันดาลใจจากสัตว์หิมพานต์ เพื่อนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่เพื่อ ทำการทดลองสร้างผลงานสัตว์หิมพานต์ จำนวน 2 ชุด คือชุด ก. สัตว์ผสมกับสัตว์และชุด ข. สัตว์ผสมกับคน เมื่อได้ผลของการทดลองสร้างสรรค์ ผลสรุปเป็นแนวคิดใหม่ที่ได้จากกระบวนการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยจะนำผลการศึกษามาทำการสร้างสรรค์เป็นชุดผลงานสัตว์หิมพานต์ตามแนวคิดใหม่ และนำเสนอเผยแพร่ในรูปแบบของงานนิทรรศการ จากผลการวิจัยพบว่าสัตว์ผสมข้ามสายพันธุ์ในอดีตเกิดจากความเชื่อเรื่องศาสนาและการนับถือเทพเจ้าตามเทพนิยายปกรณัม ทั้งที่ปรากฏขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย กรีก-โรมัน และอียิปต์ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องลี้ลับ ปรากฏสัตว์ผสมกับสัตว์ให้มีความเหนือจริง แปลกพิสดาร เมื่อมีการเผยแผ่ของศาสนาไปสู่ในดินแดนต่าง…

    READ MORE