ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Visual Arts and Design
ชื่อปริญญาและสาขาวิชาชื่อปริญญาภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Visual Arts and Design)อักษรย่อภาษาไทย : ปร.ด. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)อักษรย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Visual Arts and Design)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนรวมตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาทัศนศิลป์หรือการออกแบบ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ หรือมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการ ภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น อย่างน้อย 2 บทความ ไม่เกิน 3 ปี ย้อนหลัง ทั้งนี้ ต้องผ่านการประเมินของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ และมีผลสอบทักษะทางภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาทัศนศิลป์หรือการออกแบบหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป และมีผลสอบทักษะทางภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยกำหนด
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาเอกภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาเห็นชอบหลักสูตร
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา พ.ศ. 2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ พ.ศ. 2554
- สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งพิเศษที่ 1/2560 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
-
สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 14/2560 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2561
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ประกอบอาชีพเป็นนักวิจัยสร้างสรรค์และการออกแบบ ผู้สอน และนักพัฒนาระดับผู้นำในวิชาชีพสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ชื่อและตำแหน่งของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร1. ศ.สุชาติ เถาทอง 2. ผศ.ดร เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
3. ผศ.ดร บุญชู บุญลิขิตศิริ
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
“หลักสูตรนี้มุ่งสร้างทัศนศิลปินและนักออกแบบทางวิชาการ วิชาชีพเพื่อเป็นผู้นำทางความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา และทักษะพิสัย ในการพัฒนาและสร้างสรรค์งานให้มีคุณค่า มูลค่า และมาตรฐานในระดับสูง”
วัตถุประสงค์
1. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านทัศนศิลป์และการออกแบบที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านศิลปกรรมศาสตร์ ในภาครัฐและภาคเอกชน
2. ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ไปประยุกต์ทางการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์และผลงานออกแบบต่อสังคมและประเทศชาติ
3. ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถขั้นสูง เพื่อเข้าสู่การทำงานในด้านต่าง ๆ ในทางทัศนศิลป์และการออกแบบ
4. มีความสามารถในการวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาองค์ความรู้ สร้างองค์ความรู้ และถ่ายทอดความรู้การศึกษาทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อสามารถชี้นำสังคม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศสู่สังคมโลก เพื่อต่อยอดงานวิจัย เพื่อใช้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
แผนของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หลักสูตร แบ่งเป็น 2 แบบ
แบบ 1 ทำดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว
แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 48 หน่วยกิต
แบบ 2 เรียนรายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์
แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 48 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 – หมวดวิชาบังคับ (วิชาสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1-3) ไม่นับหน่วยกิต
– ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1
– วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
– วิชาสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1 – 3 ไม่นับหน่วยกิต
– ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รายวิชา
แบบ 1.1 ทำดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว
รายวิชาเรียนก่อนที่จะเสนอดุษฎีนิพนธ์ไม่นับหน่วยกิต จำนวน 9 หน่วยกิต
-
63470160 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1 (A Seminar in the Doctoral Dissertation 1 ) 3 (2-2-5)
-
63470260 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 2 ( A Seminar in the Doctoral Dissertation 2) 3 (2-2-5)
-
63480160 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 3 ( A Seminar in the Doctoral Dissertation 3) 3 (2-2-5)
-
63499860 ดุษฎีนิพนธ์ (Doctoral Dissertation)
48 (0-0-144)
แบบ 2.1 เรียนรายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์
รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต ประกอบด้วย
วิชาบังคับร่วม
-
63371160 สหวิทยาการวิจัย ( Interdisciplinary Research Methodology) 3 (3-0-6)
วิชาบังคับ
-
63471160 สัมมนาวิจัยทัศนศิลป์และการออกแบบขั้นสูง (A Seminar in Advanced Visual Arts and Design Research) 3 (2-2-5)
-
63471260 สหวิทยาการวิเคราะห์งานทัศนศิลป์ และการออกแบบ (The Interdisciplinary Integration Analysis of Visual Arts and Design) 3 (3-0-6)
-
63471360 สัมมนาทัศนศิลป์และการออกแบบ ( A Visual Arts and Design Seminar) 3 (2-2-5)
เมื่อเรียนรายวิชาบังคับครบถ้วนแล้ว ก่อนที่จะเสนอดุษฎีนิพนธ์ต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้เป็นวิชาไม่นับหน่วยกิตจำนวน 9 หน่วยกิต
-
63470160 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1 ( Seminar in Doctoral Dissertation 1) 3 (2-2-5)
-
63470260 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 2 ( Seminar in Doctoral Dissertation 2) 3 (2-2-5)
-
63480160 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 3 ( Seminar in Doctoral Dissertation 3) 3 (2-2-5)
ดุษฎีนิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
-
63499960 ดุษฎีนิพนธ์ (Doctoral Dissertation) 36 (0-0-108)