Fine Art Burapha University

Posted by:

|

On:

|

ชื่อหลักสูตร ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine and Applied Arts Program in Visual Arts and Design

ชื่อปริญญา

ชื่อภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine and Applied Arts (Visual Arts and Design)อักษรย่อภาษาไทย : ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ : M.F.A. (Visual Arts and Design)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า  39  หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 2  ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาโท
ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)
การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่มีความรู้ภาษาไทย
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาเห็นชอบหลักสูตร

– หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา พ.ศ. 2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555

– สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งพิเศษที่ 1/2560 วันที่  22  มีนาคม  พ.ศ. 2560

– สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 14/2560 วันที่

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
    หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา – อาจารย์ทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ- นักวิจัยสร้างสรรค์และการออกแบบ- นักพัฒนาระดับผู้นำในวิชาชีพสาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ

– อาชีพอิสระ

ชื่อและตำแหน่งของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร– ศ.เกียรติคุณ สุชาติ ถาทอง- ผศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง

– ผศ.ดร. บุญชู บุญลิขิตศิริ

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    “หลักสูตรนี้มุ่งสร้างทัศนศิลปินและนักออกแบบทางสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ  ให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพในระดับสูง เพื่อความเป็นเลิศทางการวิจัยการสร้างสรรค์ สร้างคุณค่า มูลค่า และคุณภาพ”

วัตถุประสงค์
    หลักสูตรหลักสูตรต้องการผลิตมหาบัณฑิตด้านทัศนศิลป์และการออกแบบที่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการวิจัย การสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อเข้าสู่การทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์และการออกแบบ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยร้อยละ 80 ของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะสามารถประกอบอาชีพในด้านดังกล่าวข้างต้น

แผนของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
    แผน ก แบบ ก 2  ไม่น้อยกว่า   39  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
    1) แผน ก แบบ ก 2        หมวดวิชาบังคับ   15 หน่วยกิต        หมวดวิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

        วิทยานิพนธ์         12    หน่วยกิต

    รายวิชา
        หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
        หมวดวิชาบังคับ    15     หน่วยกิต

  • 63150160   วิวัฒนาการศิลปกรรมร่วมสมัยContemporary Art Evolution   

3 (3-0-6)   

  • 63150260   วิจัยสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์และการออกแบบ  Creative Research in Visual Arts and Design   

3 (2-2-5)

  • 63150360   การบริหารทัศนศิลป์และการออกแบบ   Visual Arts and Design Administration 

3 (3-0-6)

  • 63150460   วิจัยสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทย Creative Research in Thai Art              

3 (2-2-5)

  • 63150560   การสัมมนาทัศนศิลป์และการออกแบบ Visual Arts and Design Seminar  

3 (2-2-5)

หมวดวิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า     12     หน่วยกิต 

   โดยผู้เรียนจะต้องเลือกเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาทัศนศิลป์

  • 63151160   ทัศนศิลป์ 2 มิติ Two Dimensional Visual Arts                              

3 (1-4-4)    

  • 63151260   ทัศนศิลป์ 3 มิติ Three Dimensional Visual Arts                             

3 (1-4-4)

  • 63151360   สื่อทัศนศิลป์  Visual Arts Media                               

3 (2-2-5)    

  • 63151460   โครงงานทัศนศิลป์    Visual Arts Project                       

3 (2-2-5)

กลุ่มวิชาออกแบบ

  • 63152160   การออกแบบ 2 มิติ   Two Dimensional Design                     

3 (1-4-4)         

  • 63152260   การออกแบบ 3 มิติ   Three Dimensional Design                     

3 (1-4-4)

  • 63152360   วัสดุและเทคโนโลยีการออกแบบ Material and Design Technology         

3 (2-2-5)

  • 63152460   การออกแบบเชิงวิเคราะห์ Analytical Design                

3 (2-2-5)      

วิทยานิพนธ์    12      หน่วยกิต

  • 63169960  วิทยานิพนธ์  Thesis                          

12 (0-0-36)