Fine Art Burapha University

Posted by:

|

On:

|

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้มีกระบวนการและระบบที่สามารถตรวจสอบ ติดตาม เพื่อการประเมินและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้กำหนดให้ใช้การตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ ASEAN UNIVERSITY NETWORK QUALITY ASSURANCE : AUN-QA ในระดับหลักสูตร และการประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศปี 2558-2561 (Educational Criteria for Performance Excellence : EdPex) ในระดับหน่วยงาน

รายนามคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ประธานกรรมการ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา รองประธานกรรมการ
รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน กรรมการ
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา กรรมการ
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและวิเทศสัมพันธ์ กรรมการ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา กรรมการ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร กรรมการ
ประธานสาขาวิชาจิตรกรรม กรรมการ
ประธานสาขาวิชากราฟิกอาร์ตและกราฟิกมีเดีย กรรมการ
ประธานสาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์ กรรมการ
ประธานสาขาวิชานิเทศศิลป์ กรรมการ
 
นายจำนงค์ ธนาวนิชกุล กรรมการ
นางสาววีณา ศรีสวัสดิ์ กรรมการ
นายนพดล ใจเจริญ กรรมการ
นายมนตรี จำนงสิริศักดิ์ กรรมการ
นายพงศ์พัฒน์ เจริญวารี กรรมการ
นายจุลเดช ธรรมวงษ์ กรรมการ
นางสาวณิชาพัฒน์ เนื่องจำนงค์ กรรมการ
นางสาวนัชพร อิ่มกมล กรรมการและเลขานุการ

การประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ AUN-QA
(ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปเกี่ยวกับการประกับคุณภาพภายในและภายนอก AUN-QA)

การตรวจประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบของ AUN-QA นั้น มาจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือASEAN University Network – AUN โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลักการสำคัญของ AUN-QA น้ันได้แก่การมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การ เรียนรู้หรือ Outcome-Based Learning กล่าวคือมุ่งเน้นการพิจารณาการออกแบบผลลัพธ์จากการเรียนรู้และการออกแบบกระบวนการต่างๆเพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ

AUN-QA มุ่งเน้นการเช่ือมโยงและสอดคล้องกันระหว่างการออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียนกับการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียน และการมีการประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม ถูกต้อง และเป็นธรรม โดยมุ่งเน้นการทำงานที่เป็นระบบ PDCA สามารถตรวจสอบ ประเมิน และพัฒนาได้

ในการประเมินจะมีค่าคะแนนทั้งหมด 7 ระดับ ซึ่งรายละเอียดของค่าคะแนนแต่ละระดับจะมีดังต่อไปนี้

  • 1 หมายถึง หลักสูตรยังไม่มีการดาเนินการใดๆในเรื่องนั้นเลย (ไม่มีเอกสาร แผนงาน หรือหลักฐานการ ดาเนินการใดๆ)
  • 2 หมายถึง หลักสูตรยังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนเพื่อดาเนินการเรื่องนั้นๆ
  • 3 หมายถึง หลักสูตรมีเอกสารเกี่ยวกับการดาเนินการน้ัน แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการจริง หรือไม่ได้ปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง
  • 4 หมายถึง หลักสูตรมีเอกสารเกี่ยวกับการดาเนินการนั้นและมีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการจริง
  • 5 หมายถึง หลักสูตรมีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดาเนินการเร่ืองน้ันๆอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 6 หมายถึง หลักสูตรได้แสดงให้เห็นว่าเป็นตัวอย่างของการดาเนินการท่ีดีหรือเป็นต้นแบบในด้านน้ันๆ
  • 7 หมายถึง หลักสูตรได้แสดงให้เห็นว่าเป็นเลิศในการดาเนินการด้านน้ันๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับโลก

โดยรูปแบบการประเมินจะประกอบไปด้วยเกณฑ์พิจารณาทั้งหมด 11 ข้อ คือ

  • 1. ExpectedLearningOutcomesหมายถึงผลการเรียนรู้ท่ีคาดหวัง
  • 2. Programme Specification หมายถึง ข้อกาหนดของหลักสูตร
  • 3. Programme Structure and Content หมายถึง โครงสร้างและเน้ือหาของหลักสูตร
  • 4. Teaching and Learning Strategy หมายถึง กลยุทธ์การเรียนการสอน
  • 5. Student Assessment หมายถึง การประเมินผู้เรียน
  • 6. Academic Staff Quality หมายถึง คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
  • 7. Support Staff Quality หมายถึง คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
  • 8. Student Quality and Support หมายถึง คุณภาพผู้เรียนและการสนับสนุนผู้เรียน
  • 9. Facilities and Infrastructure หมายถึง สิ่งอานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
  • 10. Quality Enhancement หมายถึง การพัฒนาคุณภาพ
  • 11. Output หมายถึง ผลผลิต
การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)
(ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Edpex)

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx) เป็นเกณฑ์ที่ปรับมาจากแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA)  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินระบบการบริหารที่ครอบคลุมทุกพันธกิจของสถาบันการศึกษา ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีผลการดำเนินการที่ดี มีการพัฒนา ส่งเสริมการมุ่งสู่การดำเนินที่เป็นเลิศในระดับสากล ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และมีการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ซึ่งเกณฑ์นี้ จะมีค่านิยมและแนวคิดหลักของเกณฑ์นี้ มีทั้งหมด 11 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • มุมมองเชิงระบบ (Systems perspective)
  • การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)
  • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-focuse excellence)
  • การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Valuing people)
  • การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว (Organizational learning and agility)
  • การมุ่งเน้นความสาเร็จ (Focus on success)
  • การจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for innovation)
  • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)
  • การทำประโยชน์ให้สังคม (Societal contributions)
  • จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and transparency)
  • การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivering value and results)

เกณฑ์์ EdPEx เป็นชุดของคำถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญ 7 ด้านในการบริหารและดำเนินของสถาบัน ได้แก่
1) การนำองค์กร
2) กลยุทธ์
3) ลูกค้า
4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
5) บุคลากร
6) การปฏิบัติการ
7) ผลลัพธ์

โดยมีคะแนนแบ่งออกเป็น

  • หมวด 1 การนำองค์กร (Leadership) 110 คะแนน
  • หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy) 95 คะแนน
  • หมวด 3 ลูกค้า (Customers) 95 คะแนน
  • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management) 100 คะแนน
  • หมวด 5 บุคลากร (Workforce) 100 คะแนน
  • หมวด 6 การปฏิบัติการ (Operations) 100 คะแนน
  • หมวด 7 ผลลัพธ์ (Results) 400 คะแนน

รวมเป็น 1,000 คะแนน

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ที่ คลิก

อ้างอิงข้อมูล

  • เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561
  • เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563 – 2564

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับคณะ
(https://drive.google.com/drive/folders/14J6gV3GLPLrJE61UMQYyGbvwAOz3PcZP?usp=sharing)

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร (Desktop)(https://drive.google.com/drive/folders/1WE-aSWOSajL5UJ4rl8TOo1T-vH_fDbKr?usp=sharing)

รายชื่อผู้ตรวจประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร (Full Assessment)(https://drive.google.com/drive/folders/1RSuIt9gjkYt-kBKYcmVgSTOOkRGDOlFx?usp=sharing)

รายงานการประเมินตนเอง Self-Assessment Report (SAR) ระดับหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปิดการจัดการเรียนการสอนออกเป็นทั้ง 9 หลักสูตร และแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5 หลักสูตร ระดับบปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้ใช้การประเมินคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ AUN-QA

รายงานผลการดำเนินงานระดับหน่วยงานด้วยเกณฑ์ EdPEx
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ใช้การประเมินด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx