การออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลอง ตามทฤษฎีเครื่องล่อใจDESIGN OF SIMULATION THAI FOLK GAME UPON INCENTIVE THEORY

Posted by:

|

On:

|

ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอภาส: 54920584: สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: บุญชู บุญลิขิตศิริ, ค.ด. 235 หน้า. ปี พ.ศ. 2557.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลองตามทฤษฎีเครื่องล่อใจ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนาเขื่อน จำนวน 30 คน โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกที่เน้นประเด็นเรื่องการออกแบบเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลอง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเกม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ

ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเกมที่ได้ออกแบบไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจและสังเกตพฤติกรรม ผู้วิจัยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงสู่ข้อสรุปของการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อเกมการละเล่นพื้นบ้านไทยในรูปแบบสถานการณ์จำลองในระดับมากในทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้เล่นมีความพึงพอใจในด้านภาพและสีเป็นลำดับที่ 1 (x = 4.18) ลำดับที่ 2 คือ ด้านรูปแบบเกมและการควบคุม (x= 4.14) ลำดับที่3 คือ ด้านเนื้อหา (x= 4.08) ลำดับสุดท้าย คือรูปแบบตัวอักษร (x=4.02) และด้านสัญรูปหรือปุ่ม (x=4.02) ตามลำดับ

Abstract

The objective of this research was Thai folk game design with simulation upon incentive theory to encourage children. The target research group is a group of 30 students in 3rd grade from Wat Na Khuen School by using 2 types of data collection methods.

Indepth interview with game design experts in the issue of Thai folk game design with simulated situation was used as a data collection method for qualitative research. Then the data was analyzed to use as a guideline for the design.

For quantitative research, game sample testing method was used with the target group along with satisfaction questionnaires and behavior observation. The analyzed outcome was applied to conclude the research.

Based on the outcome data, game sample was satisfying the target group in the high level of all issues the following below:

               The first order satisfaction was picture and Color (x= 4.18).

               The second was game style and control (x= 4.14).

               The third was content (x= 4.08).

               The forth was text style (x= 4.02), icon and button (x= 4.02).

 Tags: เกมการละเล่นพื้นบ้านไทย/ สถานการณ์จำลอง/ ทฤษฎีเครื่องล่อใจ

วันที่เผยแพร่: 543