การสร้างสรรค์ศิลปะการจัดวางจากวรรณกรรมเรื่อง ข้างหลังภาพ ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย (CREATION OF INSATALLATION ART FOR CHUICHAI OF KEERATI: THE LAST BEAUTY OF KHUM YING KEERATI.)

Posted by:

|

On:

|

“คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากวรรณกรรมเรื่องข้างหลังภาพ โดยศรีบูรพา เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทย ภาษา วรรณกรรม ศิลปะกาจัดวางด้วยวิธีการตัดเย็บ และวีดีโออาร์ต ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในรูปแบบการสร้างสรรค์และการตัดเย็บเสื้อผ้า งานศิลปะการจัดวางที่มีการใช้เทคนิควีดีโออาร์ตในการเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว . “

คณพศ  วิรัตนชัย: การสร้างสรรค์ศิลปะการจัดวางจากวรรณกรรมเรื่อง ข้างหลังภาพ ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย (CREATION OF INSATALLATION ART FOR CHUICHAI OF KEERATI: THE LAST BEAUTY OF KHUM YING KEERATI.)

สาขาวิชา: ทัศนศิลป์และการออกแบบ; ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์: เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, ศ.ม., ภรดี พันธุภากร, ศศ.ม. 114 หน้า. ปี พ.ศ. 2557

บทคัดย่อ

ฉุยฉายกีรติ: คุณหญิงกีรติกับความงามครั้งสุดท้าย เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์จากวรรณกรรมเรื่องข้างหลังภาพ โดยศรีบูรพา เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทย ภาษา วรรณกรรม ศิลปะกาจัดวางด้วยวิธีการตัดเย็บ และวีดีโออาร์ต ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในรูปแบบการสร้างสรรค์และการตัดเย็บเสื้อผ้า งานศิลปะการจัดวางที่มีการใช้เทคนิควีดีโออาร์ตในการเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว

ผลงานนี้นำเสนอแนวคิดเรื่องการแปรเปลี่ยนร่างกายของหญิงสาวที่กำลังป่วยและทรุดโทรมให้เกิดความงดงาม โดยนำเสนอเหตุการณ์ 3 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงป่วยหนักใกล้เสียชีวิต เล่าประเด็นความรักของทั้งสองที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและเน้นที่เรื่องของจดหมายที่คุณหญิงกีรติกับนพพรส่งหากัน (2) ช่วงแต่งตัวต้อนรับนพพรชายที่ตนรัก กล่าวถึงคุณหญิงกีรติกับการแต่งตัวให้สวยงามอีกครั้งเพื่อพบชายหนุ่มที่ตนรัก (3)ช่วงแต่งตัวสวยงามรอต้อนรับนพพร ชายคนรักซึ่งไม่ทราบว่าคุณหญิงป่วยหนักใกล้สิ้นลมหายใจ จากแนวคิดข้างต้นผู้สร้างสรรค์นำเสนอด้วยรูปแบบศิลปะการจัดวางโดยกำหนดแนวทางของการจัดวางผลงานและแบ่งส่วนพื้นที่ดังนี้

พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นส่วนนำเสนอข้อความสำคัญในการสร้างชิ้นผลงาน ข้อความจดหมายและข้อมูลเกี่ยวกับนวนิยายเรื่อง ข้างหลังภาพ เพื่อเป็นการปูพื้นสำหรับผู้ชมก่อนเข้าชมผลงาน

พื้นที่ส่วนที่ 2 ส่วนของงานเครื่องแต่งกายสตรี โดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ ชุดเครื่องแต่งกายในวีดิโออาร์ตช่วงแรกซึ่งเล่าเรื่องทีคุณหญิงกล่าวกับน้องสาวให้ช่วยแต่งตัวเพื่อให้งดงามอีกครั้ง และชุดเสื้อคลุมด้านในและเครื่องประดับในช่วงที่สองและสาม ในพื้นที่ส่วนนี้เป็นการให้ผู้ชมเห็นถึงความทุกข์ความวุ่นวายในจิตใจของคุณหญิงกีรติ ผ่านการนำเสนอด้วยเทคนิคขดลวดทำเป็นเครื่องประดับและเทคนิคของการตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทับซ้อนที่เกิดจากกระบวนการนำกระดาษอัดด้วยผ้ากาวและการเดินด้ายด้วยฝีจักรให้เกิดเส้นที่สับสน

พื้นที่ส่วนที่ 3 วิดีโออาร์ตการรำฉุยฉายบนชุดกิโมโนแห่งความทุกข์บอกเล่าเรื่องการแปลงกายของคุณหญิงกีรติ ผู้สร้างสรรค์เลือกใช้กระดาษเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างงานเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของคนทั้งสอง เพื่อแสดงพลังของความรักของคุณหญิงกีรติซึ่งเป็นบทสรุปและเล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบของเหตุการณ์ที่สร้างสรรค์ในครั้งนี้

Abstract

This study, “Chuichai Keerati: Khun Ying Keerati and Her Last Beauty”, is a creative research inspired by Sri Burapha’s Behind the Painting. The “Chuichai Keerati: Khun Ying Keerati and Her Last Beauty” integrates Thai classical dance, language, literature, installation art by means of clothing construction, and video art to creatively express the story through clothing construction and installation art using video art technique.

This work presents the concept of appearance transformation of a woman, Khun Ying Keerati—the heroine of the story, who is being seriously sick and getting closed to death to have a nicer look. Three parts of the story are portrayed: (1) the time when Khun Ying Keerati is getting closed to death (it illustrates her love to Nopporn, the hero of the story, and vice versa in Japan which focuses on the content of the letters they send to each other when Khun Ying Keerati has returned to Thailand but Nopporn is still studying in Japan), (2) the time when Khun Ying Keerati gets dressed to welcome Nopporn (it illustrates how Khun Ying Keerati is dress-up to meet her beloved man when he returns from Japan), and (3) the last dressing up when Khun Ying Keerati is dress-up to welcome Nopporn’s visit in which he does not know that she is getting really closed to her death.

As an installation art work piece, the presentation of this work follows the conventional style in which the presentation area is divided into 3 sections.

Section 1 is the area presenting the content of the letters between Khun Ying Keerati and Nopporn and information related to the novel Behind the Painting. This is to guide and/or to remind the audience the story.

Section 2 is the area presenting the woman’s costume in which it is divided into 2 parts: the costume for Thai classical dance and the inner dress. The first part of the video presentation shows the story when Khun Ying Keerati asks her sister to help her getting dressed. The second is at the time when Khun Ying Keerati is dress-up waiting for Nopporn. The latter reflects the sorrow in Khun Ying Keerati’s mind. Wiring technique is used to form a female costume for Thai classical dance. This is to reflect that Thai women are stereotyped by society to behave as noble lady. Paper sewn with interlining are used for forming various sizes of cherry blossom flowers, and these flowers are sewn together to form a piece of cloth.

Section 3 is called The Kimono of Sadness. This presents Chui Chai Dance with new lyric and music to portray Khun Ying Keerati’s transformation. The video presentation of the dance is shown on the Kimono of Sadness. The Kimono of Sadness is made from paper which also represents the letters between Khun Ying Keerati and Nopporn. Iterative technique is used to represent the power of Khun Ying Keerati’s love and it is the conclusion of presentation from the beginning to the end of this creation.

 Tags: ศิลปะการจัดวาง/ ฉุยฉายกีรติ/ ความงามครั้งสุดท้าย/ คุณหญิงกีรติ

วันที่เผยแพร่: 543